[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 294 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หมวดหมู่ blog
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
รวมลิงค์ที่น่าสนใจ
รวมเว็บที่น่าสนใจ

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
เอสโตรเจน  VIEW : 1343    
โดย ดร. ภัทร

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 155
ตอบแล้ว :
เพศ :
ระดับ : 10
Exp : 6%
เข้าระบบ :
ออฟไลน์ :
IP : 43.249.60.xxx

 
เมื่อ : ศุกร์ ที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ.2561 เวลา 16:09:03   

เอสโตรเจน
หน้าที่ของเอสโตรเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ทำให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้น และ รับการเปลี่ยนแปลง เตรียมพร้อมที่จะรับการฝังตัวของไข่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สร้างขึ้นจากรังไข่หลังไข่ตก เมื่อได้รับการ ปฏิสนธิจากสเปิร์มของเพศชาย ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสม ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลง ทำ ให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่ถูกสร้างไว้หลุด ลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือนทุกๆ เดือน เป็นวงจรไปเรื่อยๆ ในชีวิตผู้หญิง ๑ คน จะมีประจำเดือน เกิดขึ้นรวมแล้วประมาณ ๔๐๐ รอบ ซึ่งหากกลไกดังกล่าวทำงานผิดพลาด หรือระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนไม่อยู่ในภาวะสมดุล ก็จะมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมีประจำเดือนเกิดขึ้น
นอกจากหน้าที่ดังกล่าวแล้ว ฮอร์โมนเพศหญิงยังทำให้ร่างกาย และเนื้อเยื่อต่างๆ มีความแข็งแรง แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้หญิงที่สมบูรณ์ เช่น มีการขยายของหน้าอก มากขึ้น มีการสร้างมูกในช่องคลอดมากขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อยังมีฮอร์โมน ผู้หญิงก็จะดูเต่งตึง สดใส มีน้ำมี นวล เซลล์ต่างๆ จะเสื่อมสภาพช้าลง กระดูกก็ยังคงสภาพที่ค่อนข้างแข็งแรง ปัจจุบันเด็กผู้หญิงทั่วโลกมีแนวโน้มจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น (รวมทั้งเด็กไทย) นั่นคือ ประมาณ ๙ ปีขึ้นไป ทั้งนี้อาจมีเหตุปัจจัยความเจริญในด้านต่างๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และสภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันผู้หญิงก็จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนช้าลง
ภาวะหมดประจำเดือน
การหมดประจำเดือนเกิดขึ้นได้ ๒ กรณี คือ หนึ่ง หมดไปเองตามธรรมชาติ สอง เกิดจากการผ่าตัด เอารังไข่ออกเพื่อรักษาโรค ซึ่งจะทำ ให้เกิดอาการผิดปกติเร็วกว่าผู้หญิงที่หมดประจำเดือนตามธรรมชาติ อาการที่บ่งบอกว่าได้ย่างเข้าสู่ วัยทองแล้ว ในผู้หญิงอาจจะแสดงอาการล่วงหน้าประมาณ ๓-๔ ปี (ก่อนที่รังไข่จะหยุดทำงาน หยุดผลิต ฮอร์โมน) นั่นคือ ประจำเดือนจะเริ่ม มาผิดปกติ เช่น จะมาเดือนละ ๒ ถึง ๓ ครั้ง หรือประจำเดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่ารังไข่ทำงานน้อยลง ถ้าประจำเดือน ไม่มา ๖ เดือน บางครั้งอาจจะกลับ มาใหม่ได้ แต่ถ้าประจำเดือนหยุดไปนานถึง ๑ ปี ก็แสดงว่ารังไข่หยุด ทำงานแล้ว ซึ่งโดยเฉลี่ยผู้หญิงไทยจะหมดประจำเดือน เมื่ออายุประมาณ ๔๘-๕๐ ปี
เมื่อเข้าสู่วัยทอง
เมื่อเข้าสู่วัยทองการผลิตฮอร์โมนทั้งสองจะมีปริมาณลดลง ในช่วงแรกที่เรียกว่า premenopusal ระดับฮอร์โมนยังไม่หยุดผลิตแต่อาจจะผลิตมากไป หรือน้อยเกินไป หรือมาไม่สม่ำเสมอ ทำให้เราเกิดอาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ แต่เมื่อเข้าสู่วัยทองการผลิตฮอร์โมนจะลดลงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อวัยวะดังนี้
• ระบบสืบพันธ์ซึ่งรวมอวัยวะเพศ ทางเดินปัสสาวะ เนื้อเยื่อจะฝ่อทำให้เกิดอาการช่องคลอดแห้ง คันช่องคลอด เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้
• ผิวหนัง เลือดที่ไปเลี้ยงผิวหนังมีปริมาณมากขึ้นทำให้เกิดอาการร้อนตามตัว
• สมอง การที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงทำให้เกิดอาการซึมเสร้า อารมณ์แปรปรวน รู้สึกไม่สบายตามตัว
• กระดูก การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้เนื้อกระดูกโปร่งบาง กระดูกหักง่าย ผู้ป่วยจะมีน้ำหนักน้อยลง เตี้ยเนื่องจากหลังค่อม ปวดกระดูกส่วนที่โปร่งบาง
• หัวใจ การฮอร์โมนจะทำให้เกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยวัยทอง
ก่อนการให้ฮอรโมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีก หรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านั้นผู้ป่วยบางคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองแพทย์จะให้ยาคุมกำเนิดรับประทานซึ่งมีผลดีหลายประการ เช่นทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ลดอาการร้อนตามตัว ลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่ ข้อเสียคือไม่ทราบว่าหมดประจำเดือนหรือยัง ถ้าสงสัยก็ให้หยุดยาคุมกำเนิด 4-5 เดือนแล้วดูว่าประจำเดือนมาหรือไม่ เมื่อเข้าสู่วัยทองจริงแพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนที่มีส่วนประกอบของ estrogen และ progesteroneผลดีของการให้คือ ลดอาการ ป้องกันกระดูกพรุน และป้องกันโรคหัวใจ แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อนคือ โรคตับอักเสบ ไขมัน triglyceride สูง โรคมะเร็งเต้านม
เอสโตรเจน
HonestDocs
[url]https://www.honestdocs.co/what-is-estrogen[/url]
[url]https://www.honestdocs.co[/url]