หมวดหมู่ : ภาษาไทย
เรื่อง : การอ่าน
blog : JIRAYU
ระดับ : [ มือใหม่ ]
อ่าน : 214
อังคาร ที่ 8 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2566
พิมพ์  

1. เด็กวัย 6 เดือน-2 ปี
     
       เด็กในช่วงวัยนี้สามารถรู้จักตัวพยัญชนะ เช่น ก.ไก่ ข.ไข่ได้แล้ว โดยการที่คุณพ่อคุณแม่ใช้นิ้วชี้ไปตามตัวหนังสือที่อ่านให้ลูกฟัง นอกจากนี้หนังสือที่เหมาะสำหรับเด็กในวัยนี้ต้องเป็นหนังสือนิทานเล่มใหญ่ มีสีสันสดใส มีภาพที่สื่อความหมายแบบง่ายๆ ซึ่งอาจจะเป็นภาพถ่ายหรือภาพวาดที่ไม่ซับซ้อน เช่น ภาพคน ภาพเกี่ยวกับธรรมชาติ ภาพต้นไม้ ดอกไม้ สัตว์ อีกทั้งภาษาของหนังสือนั้นต้องใช้ภาษาง่ายๆ ใช้คำซ้ำๆ อาจเป็นคำคล้องจองหรือคำกลอนสั้นๆ เช่น “ช้างอ้วนกระดุกกระดิก ส่ายงวงกระดุ๊กกระดิ๊ก ไปทางซ้ายไปทางขวา” นอกจากนี้เนื้อหาของหนังสือสำหรับเด็กในวัยนี้ควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก เช่น กิจวัตรประจำวัน ครอบครัว โรงเรียน เพื่อน สัตว์เลี้ยง
     
       2. เด็กวัย 3-7 ปี
     
       เด็กในช่วงวัยนี้ยังชอบอ่านหนังสือที่มีภาพประกอบอยู่ เช่น นิทานภาพ แต่เด็กในวัยนี้จะเริ่มมีจินตนาการมากขึ้น อีกทั้งพอที่จะเริ่มอ่านหนังสือได้มากขึ้นแล้ว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหาหนังสือที่มีเนื้อหาที่ส่งเสริมจินตนาการที่มีคำบรรยายมากขึ้นให้ลูกได้อ่าน เช่น หนังสือเทพนิยาย ที่มีเจ้าชาย เจ้าหญิง เทวดา นางฟ้า ซึ่งเด็กบางคนที่ได้ฟังนิทานหรืออ่านนิทานแล้วอาจเล่นสมมุติว่าตนเองเป็นนางฟ้า เป็นเจ้าชาย เป็นเจ้าหญิงตามเนื้อเรื่องของหนังสือนิทานก็ได้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลก แต่เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของการมีความคิดสร้างสรรค์ตามวัย คุณพ่อคุณแม่อาจใช้โอกาสนี้ในขณะหรือหลังจากเล่านิทานให้ลูกฟังหรือขณะที่ลูกกำลังเล่นบทบาทสมมุติคอยแนะนำหรือสอนลูกในเรื่องต่างๆได้ เช่น นางฟ้าหรือเทวดาเป็นคนดีเพราะคอยช่วยเหลือคนอื่น ถ้าหนูอยากเป็นเด็กดีเหมือนนางฟ้าหนูต้องรักและดีกับคนอื่นให้มากๆ แต่แม่มดเป็นคนไม่ดีเพราะชอบแกล้งและทำให้คนอื่นเดือดร้อน ถ้าหนูไม่อยากเป็นเหมือนแม่มดที่ไม่มีใครชอบเลย หนูต้องไม่เกเรและเป็นเด็กดี
     
       3. เด็กวัย 8-12 ปี
     
       เด็กในวัยนี้เริ่มสนใจในการอ่านอย่างจริงจัง ซึ่งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงจะมีความสนใจต่อหนังสือที่อ่านแตกต่างกันอย่างชัดเจน เป็นต้นว่า เด็กผู้ชายจะสนใจอ่านเรื่องที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์ เครื่องยนต์กลไก การต่อสู้ ส่วนเด็กผู้หญิงจะสนใจอ่านเรื่องที่เกี่ยวกับตุ๊กตา การแต่งตัว สิ่งสวยๆงามๆ นอกจากนี้หนังสือยังเริ่มเป็นสื่อที่เข้ามามีอิทธิพลในเรื่องของความคิดและรสนิยมของเด็กในวัยนี้อีกด้วยเพราะเป็นวัยที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยรุ่น คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเลือกสรรหนังสือให้กับลูกในวัยนี้อย่างพิถีพิถันมากขึ้น เช่น อย่าให้มีเนื้อหาที่รุนแรงมากเกินไปจนถึงขั้นฆ่าฟันกันเลือดสาด หรือประเภทที่ใช้ภาษาหยาบคาย ไม่สุภาพ หรืออย่าให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักใคร่ที่เกินงาม ลามกอนาจาร หรือเนื้อหาที่เกี่ยวกับความฟุ้งเฟ้อในวัตถุทั้งหลาย
     
       นอกจากที่การอ่านมีบทบาทกับเด็กๆทั่วไปแล้ว การอ่านยังมีบทบาทที่สำคัญในการพัฒนา “เด็กพิเศษ”ด้วย ซึ่งสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสมอง ไม่ว่าจะเป็นเด็กที่สมองพิการ เด็กที่บกพร่องในการเรียนรู้(LD:Lerning Disability) หรือเด็กออทิสติก (Autism) หนังสือสำหรับเด็กพิเศษนี้ควรเป็นหนังสือที่มีภาพประกอบ เป็นภาพเดี่ยวๆ มีตัวหนังสือไม่มากนักและมีสีสันสดใส เพื่อให้อ่านได้เข้าใจง่ายที่สุด และสำหรับเด็กพิเศษที่ยังเล็กหรืออ่านหนังสือไม่ได้ เวลาที่คุณพ่อคุณแม่อ่านหนังสือให้ลูกฟังนั้น ต้องอ่านช้าๆ ซ้ำๆ และเปิดโอกาสให้เด็กได้พูดตาม เพราะโดยปกติแล้วเด็กเหล่านี้จะมีปัญหาในเรื่องของการฟังและการพูด การให้เด็กพูดตามจะช่วยพัฒนาทักษะในด้านการพูดและการฟังให้แก่เด็กๆเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี



รายละเอียดผู้เขียนบทความ blog
blog name :
เจ้าของ blog :
วัน/ เดือน/ ปีเกิด :
สถานที่ทำงาน :
จำนวนบทความใน blog :
ระดับของ blog :
JIRAYU
นาย จิรายุ ภาษี
2/7/2549
โรงเรียนศรีเเก้วพิทยา
1 เรื่อง
[ มือใหม่ ]