[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 294 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
หมวดหมู่ blog
ฝากข้อความ
ชื่อ :
ข้อความ (ตัวแสดงอารมณ์)
รวมลิงค์ที่น่าสนใจ
รวมเว็บที่น่าสนใจ
  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม

เจ้าของผลงาน : นายสุจินต์ หล้าคำ รองผู้อำนวยการโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
พุธ ที่ 17 เดือน เมษายน พ.ศ.2556
เข้าชม : 5662    จำนวนการดาวน์โหลด : 7088 ครั้ง
4.5 stars เฉลี่ย : 4.5 จาก 2 ครั้ง.

บทคัดย่อ :

                การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ โดยทำการศึกษากับผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปีการศึกษา 2555  ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 3 คน และครูผู้สอน 59 คน รวมทั้งสิ้น 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามและแบบประเมิน จำนวน 4 ชุด  ได้แก่  1) แบบบันทึกข้อมูลการสนทนาเกี่ยวกับการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ตามประเด็นคำถามในการจัดกลุ่มสนทนาร่วมกับคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ เพื่อหาคำตอบที่เป็นจริงเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรค และความต้องการในการนิเทศภายใน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  2) แบบสอบถามเกี่ยวกับความต้องการในการนิเทศภายในสถานศึกษาเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม เพื่อทราบความต้องการในการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม เป็นแบบสอบถามชนิดปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ  3) แบบประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert’s) 5 ระดับ มีจำนวน 5 รายการ สำหรับประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบ  4) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อความสำเร็จของการนิเทศด้านต่างๆ หลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม เพื่อยืนยันรูปแบบ  และ  5) แบบประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับประเมินการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม มีจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ มาตรฐานด้านความเหมาะสม และมาตรฐานด้านความถูกต้อง หลังการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม
                             การรวบรวมข้อมูล  ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังนี้ คือ 1) ประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคมที่ปฏิบัติหน้าที่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 เกี่ยวกับการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ และเปิดโอกาสให้ซักถามจนเกิดความเข้าใจตรงกัน เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ของการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา ความหมายและความสำคัญของแต่ละปัจจัยที่นำมาสร้างเป็นรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา วิธีดำเนินกิจกรรม ตามคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม  2) ดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษา ตามคู่มือการดำเนินงานตามรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม โดยให้คณะกรรมการนิเทศภายในสถานศึกษา เป็นผู้นิเทศ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 3 คน หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ 1 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระ 8 คน และผู้รับการนิเทศ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 50 คน เป็นผู้ดำเนินการ ผู้วิจัยทำหน้าที่สังเกต ให้ข้อเสนอแนะ และเก็บรวบรวมข้อมูล  3) เก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งในเชิงคุณภาพ (Qualitative) โดยการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติของผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ บันทึกการสังเกตพฤติกรรม และผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานนิเทศภายในตามรูปแบบ และการสัมภาษณ์ถึงข้อค้นพบและปัญหา อุปสรรคระหว่างดำเนินการ และในเชิงปริมาณ (Quantitative) เพื่อสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และนำข้อค้นพบมาสรุปในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ประเมินสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งนำไปสู่การสรุปผลการวิจัย แสดงให้เห็นแนวทางหรือรูปแบบการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ดังนี้

สรุปผลการวิจัย
                   การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ สรุปผลการวิจัยเป็น 5 ส่วน คือ  1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำเป็นในการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม  2) ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม  3) ผลทดลองใช้และผลการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริหารและครูผู้สอน ตลอดจนความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนต่อรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม  4) ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม และ 5) รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้
                   1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการจำเป็นในการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ดังนี้
                         1.1 ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม เพื่อทราบสาเหตุของปัญหาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปัญหานักเรียนติด 0 ร มส. นักเรียนไม่จบการศึกษาพร้อมรุ่นตามหลักสูตร และแนวทางแก้ไขในแต่ละด้าน ดังนี้
                                  1)  สาเหตุของปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ปัญหานักเรียนติด 0 ร มส. ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม พบว่าเกิดจากสาเหตุ 3 ประการ ดังนี้
                                        1.1) สาเหตุมาจากตัวนักเรียน พบว่า (1) ลักษณะส่วนตัวที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ นักเรียนขาดความสนใจในการเรียน ขาดความกระตือรือร้น ไม่มีความรับผิดชอบ ขาดความพยายามในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ ไม่รู้จักใช้เวลาให้เกิดประโยชน์  (2) พื้นฐานทางการเรียนเดิม เนื่องจากนักเรียนมีพื้นฐานทางการเรียนในระดับประถมศึกษาไม่ดีเท่าที่ควร ทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียน เพราะเนื้อหาวิชาในการเรียนต่อเนื่องกัน คือผู้ที่จะเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นศึกษาได้ดี จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานดีมาจากชั้นประถมศึกษา ซึ่งในระดับมัธยมศึกษาจะมีเนื้อหาซับซ้อนมากขึ้น และมีความยากมากขึ้น นักเรียนที่มีความอดทนและมีความพยายามจะสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้ดี แต่ถ้าไม่มีความพยายาม ขาดความสนใจในการเรียนจะทำให้เรียนไม่เข้าใจ และเกิดความเบื่อหน่ายในที่สุด  (3) นิสัยในการเรียน ได้แก่ นักเรียนไม่ส่งงานหรือการบ้านที่ครูสั่ง ขาดเรียนบ่อย ขณะเรียนเมื่อไม่เข้าใจบทเรียนไม่กล้าซักถามครู คุยในเวลาเรียนทำให้เรียนไม่ทันเพื่อน ไม่ทบทวนบทเรียนเมื่อเรียนเสร็จในแต่ละวัน ไม่มีการเตรียมตัวอ่านหนังสือล่วงหน้าก่อนเรียน ไม่มีสมาธิในการเรียน  (4) การมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียน ได้แก่ นักเรียนไม่ชอบวิชาที่ให้การบ้านมาก เมื่อครูถามแล้วตอบไม่ได้ทำให้ไม่อยากเรียน วิชาที่เรียนไม่เข้าใจและมีการบ้านมากไม่ได้จะไม่อยากเรียน และไม่ทำการบ้านหรืองานที่มอบหมาย
                                        1.2) สาเหตุมาจากลักษณะครอบครัวของนักเรียน พบว่า (1) บิดามารดาไม่มีเวลา เป็นปัจจัยสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเพราะบิดามารดาที่มีความพร้อมย่อมเป็นที่ปรึกษาให้ความรู้ และความอบอุ่นแก่นักเรียนได้ดี จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เนื่องจากบิดามารดาไม่มีเวลาในการดูแลเอาใจใส่ในการทำการบ้าน และการหาความรู้ของเด็ก  (2) นักเรียนได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจของบิดามารดา ส่งผลต่อปัญหาด้านระเบียบวินัยในการเรียนของนักเรียน  (3) ความสัมพันธ์กับบิดามารดาไม่ดี เนื่องจากบิดามารดาแยกทางกัน บิดาหรือมารดาแต่งงานมีครอบครัวใหม่ นักเรียนอยู่ปู่ย่า ตายาย ซึ่งแก่ชรา หรือบางคนก็อยู่กับญาติพี่น้อง ซึ่งมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และการเรียนรู้ของนักเรียน
                                        1.3) สาเหตุมาจากการจัดการศึกษาของโรงเรียน พบว่า การดำเนินการจัดการเรียนรู้และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา และการจัดการเรียนรู้ของครู ได้แก่ 1) โรงเรียนขาดการส่งเสริมให้ครูทุกคนได้รับการพัฒนาในวิชาที่สอน โดยส่วนใหญ่ครูที่ศึกษาต่อในระดับปริญญาโทมุ่งศึกษาวิชาเอกการบริหารสถานศึกษา ไม่ได้เรียนตามวิชาเอกหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน จึงขาดการพัฒนาตนเองในวิชาที่สอน โรงเรียนเพียงส่งครูเข้ารับการอบรม ตามที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยราชการอื่นจัดอบรม ให้กับครูบางส่วนเท่านั้น ครูจึงขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  2) โรงเรียนขาดการกำกับติดตาม และประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ของครู ขาดการประเมินการจัดการเรียนรู้ของครู ขาดการประเมินแบบทดสอบ แบบวัด และเครื่องมือวัดผลและประเมินผลต่างๆ ของครู อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  3) โรงเรียนขาดการส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องรอบด้าน ครูไม่ศึกษาหลักสูตรและการกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน ขาดการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลเพื่อนำข้อมูลใช้วางแผนในการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของนักเรียน การดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ไม่ทั่วถึง  4) ครูไม่ใช้สื่อหรือใช้สื่อที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  5) ครูไม่ได้ประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาและระดับพัฒนาการของนักเรียนอย่างจริงจัง 6) ครูขาดการวิเคราะห์ผลการประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนและนำมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนานักเรียน รวมทั้งปรับปรุงการจัดการเรียนรู้  7) ครูขาดการศึกษาค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 8) ขนาดของห้องเรียนไม่เหมาะสม จำนวนนักเรียนในแต่ละห้องมีมากเกินไป ทำให้บรรยากาศในชั้นเรียนไม่น่าเรียน ครูดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้ไม่ทั่วถึง ซึ่งถือว่าการจัดการศึกษาของโรงเรียนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
                               2) แนวทางในการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม เพื่อระดมความคิดเห็นและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ที่ประชุมเห็นว่า สาเหตุจากตัวนักเรียน คณะครูได้เอาใจใส่ดูแลช่วยเหลือนักเรียนในห้องเรียนอยู่อย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว สำหรับสาเหตุจากลักษณะครอบครัวของนักเรียน ทางโรงเรียนก็ได้ดูแลช่วยเหลือตามระบบดูแลช่วยเหลือซึ่งได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จึงมีความคิดเห็นร่วมกันว่า ควรดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และวิธีการที่จะทำให้การดำเนินการเกิดผลสำเร็จและประสิทธิภาพทั้งระบบ นั้นก็คือ การริเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งระบบ เนื่องจากที่ผ่านมานับตั้งแต่โรงเรียนถ่ายโอนมาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ในปี 2550 ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ ได้ดำเนินนโยบายจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง แต่เนื่องจากมีศึกษานิเทศก์จำนวนจำกัด ไม่สามารถสนองความต้องการนิเทศภายในสถานศึกษาต่างๆ ได้อย่างทั่วถึง ประกอบกับสถานศึกษาแต่ละแห่งมีสภาพปัญหา และความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ศึกษานิเทศก์จากภายนอกจะไม่รู้สภาพปัญหาและความต้องการของสถานศึกษาที่แท้จริง จึงไม่สามารถสนองความต้องการของสถานศึกษาได้ ดังนั้นโรงเรียนไพรบึงวิทยาคมจึงควรพัฒนาการนิเทศภายในสถานศึกษาของโรงเรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
                         1.2 ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นจากการประชุม สนทนาคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนไพรบึงวิทยาคม เกี่ยวกับการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ตามข้อเสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหา ตามประเด็นที่ใช้ในการสนทนา พบว่า
                               1) การนิเทศภายในสถานศึกษา มีความจำเป็นต่อครูผู้สอน และการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทั้งนี้เพราะการนิเทศการศึกษาเป็นตัวแทนของการเปลี่ยนแปลง จากภายนอกมาสู่สถานศึกษา แต่การนิเทศจากภายนอกสถานศึกษา ไม่สามารถสนองตอบความต้องการของสถานศึกษาได้ เพราะจำนวนศึกษานิเทศก์มีน้อย ขาดงบประมาณ เครื่องมือ และอุปกรณ์ ที่จะทำการนิเทศสถานศึกษาได้อย่างทั่วถึง และที่สำคัญบุคลากรในสถานศึกษาย่อมรู้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาและสามารถนิเทศกันเองได้ ดังนั้น การนิเทศภายในจึงเป็นการพัฒนาตนเอง โดยการพึ่งตนเอง เมื่อสังคมมีการเปลี่ยนแปลง บุคลากรภายในสถานศึกษาจะต้องมีการตื่นตัว เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยใช้บุคลากรภายในสถานศึกษาเป็นหลัก
                               2) ปัญหาของการนิเทศการศึกษาของโรงเรียนไพรบึงวิทยาคมที่พบในปัจจุบัน ที่ทำให้การดำเนินงานนิเทศภายในสถานศึกษาไม่บรรลุผลเท่าที่ควร มีดังนี้คือ (1) ผู้รับผิดชอบในการดำเนินการนิเทศภายในสถานศึกษาส่วนใหญ่ ขาดความรู้ และขาดการวางแผนการนิเทศไว้ล่วงหน้า รวมทั้งการนิเทศภายในสถานศึกษาที่มีอยู่ ขาดความชัดเจน ทั้งวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และวิธีการ  (2) ไม่มีการประเมินผลการนิเทศให้ผู้รับการนิเทศทราบ ทำให้ไม่สามารถเอาผลการนิเทศมาปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้  (3) ครูบางส่วนไม่เคยได้รับการนิเทศโดยตรง แต่ได้รับทราบเรื่องการนิเทศจากการอ่าน การฟัง การซักถามพูดคุย  (4) ไม่มีรูปแบบการนิเทศที่ชัดเจนหรือเป็นตัวอย่างได้ ผู้รับผิดชอบไม่ทราบจะดำเนินการอย่างไร  (5) วิธีการนิเทศกการศึกษาส่วนใหญ่ของโรงเรียนไพรบึงวิทยาคมใช้วิธีการประชุม จึงทำให้การนิเทศภายในสถานศึกษา ไม่สามารถนำไปใช้ในการแก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนการสอนได้จริง  (6) ไม่มีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศ  (7) ขาดการยอมรับซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะเป็นครูผู้สอนด้วยกัน ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บริหารให้ทำหน้าที่นิเทศ ถ้าผู้รับการนิเทศไม่เกิดการยอมรับ ทำให้การนิเทศสูญเปล่า  (8) ผู้นิเทศขาดเทคนิค และวิธีการนิเทศที่ดี และสอดคล้องกับเรื่องที่นิเทศ ทำให้การนิเทศไม่บรรลุเป้าหมาย  (9) ไม่มีสื่อ หรือเครื่องมือที่มีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของผู้สอน ที่จะนำมาใช้ในการประเมินการสอนของตน เพื่อแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาการเรียนการสอนที่ตรงตามความเป็นจริง  (10) ขาดการสร้างสร้างสัมพันธ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และการทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม กับเพื่อนครูคนอื่นๆ ในการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอน  (11) ภาระงานอื่นๆ มากเกินไป ทำให้ไม่มีเวลามาคำนึงถึงการนิเทศภายในสถานศึกษา  (12) ในการวางแผนการนิเทศ ไม่มีการนำเอาข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ส่วนใหญ่ก็จะทำอย่างที่เคยทำ  (13) ไม่มีการนำเอาผลการนิเทศภายในมาปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนและการพัฒนาตนเอง  คณะกรรมการนิเทศไม่สามารถนำเดินการนิเทศภายในอย่างเป็นรูปธรรม และสม่ำเสมอได้
                               3) ปัจจัยหรือวิธีการต่างๆ ที่มีความสำคัญ ที่จะส่งผลสำเร็จต่อการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อนำไปสร้างโครงร่างของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โรงเรียนไพรบึงวิทยาคม ประกอบด้วย  1) การให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง (Direct Assistance)  2) การพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม (Group Development)  3) การเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ (Professional Development)  4) การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development)  5) การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Action Research)



ดาวน์โหลด  ( Fulltext )  ( บทคัดย่อ ) 

งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยใช้แนวคิดเชิงออกแบบ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม สำหรับครูโรงเรียนศรีแก้วพิทยา 14/มี.ค./2566
      รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้การสอนคิดตามแนวคิดตามแนวทาง Thinking School 13/ส.ค./2564
      รูปแบบการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนแบบมีส่วนร่วมโดยบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 11/ก.พ./2564
      การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนศรีแก้วพิทยา อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ 5/ต.ค./2563
      การพัฒนาชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 15/ส.ค./2562


กำลังแสดงหน้าที่ 1/0 ->
<< 1 >>



ชื่อ/Email :
ใส่รหัสที่ท่านเห็นลงในช่องนี้
ความคิดเห็น :


กรุณาใช้คำพูดที่สุภาพ และอย่าใช้คำพูดที่พาดพิงถึงบุคคลอื่นให้เสียหาย ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือ


ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของระบบไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม กรุณาแจ้งที่ skp209.bancha@gmail.com เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป