การเตรียมความพร้อม

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ได้ถูกกำหนดเป็นหน่วยงานกลางในการประสานความร่วมมือกับองค์กรหลักต่าง ๆ เพื่อเตรียมการ วางแผน พัฒนา เตรียมความพร้อมให้แก่ครู คณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 โดยกำหนดเป็นแผนปฏิบัติการ 5 ปี (พ.ศ. 2554-2558) ภายใต้กรอบ 3 เสาหลัก กับ 5 นโยบาย
จากปฏิญญา ชะอำ-หัวหิน ด้านการศึกษาฯ ต่อการขับเคลื่อนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน สาระสำคัญของปฏิญญา ดังกล่าวเน้นความสำคัญของบทบาทการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน 3 เสาหลัก ดังนี้ 1.บทบาทการศึกษาในเสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคง : การสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของกฎบัตรอาเซียน การส่งเสริมหลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมการศึกษาด้านสิทธิมนุษยชน ตระหนักคุณค่าและค่านิยมทางวัฒนธรรม การสร้างเครือข่ายผู้บริหารโรงเรียนเพื่อบูรณาการความร่วมมือด้านการศึกษา การจัดงานฉลองวันอาเซียนในประเทศสมาชิก ในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นวันก่อตั้งอาเซียน 2.บทบาทการศึกษาในเสาหลักด้านเศรษฐกิจ : การจัดทำกรอบการพัฒนาทักษะในอาเซียน การพัฒนาระบบการถ่ายโอนนักเรียน การถ่ายโอนแรงงานที่มีความชำนาญการในภูมิภาค การพัฒนามาตรฐานอาชีพที่เน้นศักยภาพในอาเซียน ที่สามารถสนองตอบความต้องการของภาคอุตสาหกรรม 3.บทบาทการศึกษาในเสาหลักด้านสังคมและวัฒนธรรม : การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพในชุมชนชนบท การจัดหลักสูตรระดับปริญญาตรีเกี่ยวกับศิลปะและวัฒนธรรมอาเซียน การสนับสนุนการเรียนภาษาอาเซียน การสร้างความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียนในเยาวชน การพัฒนาด้านการวิจัยและการพัฒนาในภูมิภาค การสร้างความรู้และตระหนักเกี่ยวกับประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอด ชีวิต เพื่อบรรลุเป้าหมายการศึกษาเพื่อปวงชน การจัดทำเนื้อหาเกี่ยวกับอาเซียนร่วมกัน ตลอดจนการร่วมแบ่งปันทรัพยากรและจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาการศึกษาในภูมิภาค หลักการพื้นฐานของความร่วมมือ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐานในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
  • การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดน และเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
  • สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตย หรือการบีบบังคับจากภายนอก
  • หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
  • ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
  • การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง และ
  • ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
    บรูไน เมืองหลวง : บันดาร์ เสรี เบกาวัน
    ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
    ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 66%, จีน11%,อื่นๆ 23%
    นับถือศาสนา : อิสลาม 67%, พุธ 13%, คริสต์ 10%
    ระบบการปกครอง : ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
    กัมพูชา เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
    ภาษา : ภาษาเขมร เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษ, ฝรั่งเศส, เวียดนามและจีน
    ประชากร : ประกอบด้วย ชาวเขมร 94%, จีน 4%,อื่นๆ 2%
    นับถือศาสนา : พุทธ(เถรวาท) เป็นหลัก
    ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
    อินโดนีเซีย เมืองหลวง : จาการ์ตา
    ภาษา : ภาษาอินโดนีเซีย เป็นภาษาราชการ
    ประชากร :ชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ร้อยละ 61 อาศัยอยู่บนเกาะชวา
    นับถือศาสนา : อิสลาม 87%, คริสต์ 10%
    ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยที่มีประธานาธิปดีเป็นประมุข และหัวหน้าฝ่ายบริหาร
    ลาว เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทร์
    ภาษา : ภาษาลาว เป็นภาษาราชการ
    ประชากร : ประกอบด้วย ชาวลาวลุ่ม 68%, ลาวเทิง 22%, ลาวสูง 9% รวมประมาณ 68 ชนเผ่า
    นับถือศาสนา : 75% นับถือพุทธ, นับถือผี 16%
    ระบบการปกครอง : สังคมนิยมคอมมิวนิสต์ (ทางการลาวใช้คำว่า ระบบประชาธิปไตยประชาชน)
    มาเลเซีย เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
    ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็นอังกฤษและจีน
    ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
    นับถือศาสนา : อิสลาม 60%, พุธ 19%, คริสต์ 11%
    ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา
    พม่า เมืองหลวง : เนปีดอ (Naypyidaw)
    ภาษา : ภาษาพม่า เป็นภาษาราชการ
    ประชากร : ประกอบด้วยเผ่าพันธุ์ 135 มี 8 เชื้อชาติหลักๆ 8 กลุ่ม คือ พม่า 68%,
    ไทยใหญ่ 8%, กระเหรี่ยง 7%, ยะไข่ 4% จีน 3% มอญ 2% อินเดีย 2%
    นับถือศาสนา : นับถือพุทธ 90%, คริสต์ 5% อิสลาม 3.8%
    ระบบการปกครอง : เผด็จการทางทหาร ปกครองโดยรัฐบาลทหารภายใต้
    สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
    ฟิลิปปินส์ เมืองหลวง : กรุงมะนิลา
    ภาษา : ภาษาฟิลิปิโน และภาษาอังกฤษ เป็นภาษาราชการ รองลงมาเป็น สเปน,
    จีนฮกเกี้ยน, จีนแต้จิ๋ว ฟิลิปปินส์ มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก
    ประชากร : ประกอบด้วย มาเลย์ 40%, จีน33%, อินเดีย 10%, ชนพื้นเมืองเกาะบอร์เนียว 10%
    นับถือศาสนา : คริสต์โรมันคาทอลิก 83% คริสต์นิกายโปรเตสแตนต์, อิสลาม 5%
    ระบบการปกครอง : ประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร
    สิงคโปร์ เมืองหลวง : สิงคโปร์
    ภาษา : ภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ รองลงมาคือจีนกลาง ส่งเสริมให้พูดได้ 2 ภาษาคือ
    จีนกลาง และให้ใช้อังกฤษ เพื่อติดต่องานและชีวิตประจำวัน
    ประชากร : ประกอบด้วยชาวจีน 76.5%, มาเลย์ 13.8%, อินเดีย 8.1%
    นับถือศาสนา : พุทธ 42.5%, อิสลาม 14.9%, คริสต์ 14.5%, ฮินดู 4%, ไม่นับถือศาสนา 25%
    ระบบการปกครอง : สาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)
    โดยมีประธานาธิปดีเป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
    เวียดนาม เมืองหลวง : กรุงฮานอย
    ภาษา : ภาษาเวียดนาม เป็นภาษาราชการ
    ประชากร : ประกอบด้วยชาวเวียด 80%, เขมร 10%
    นับถือศาสนา : พุทธนิกายมหายาน 70%, คริสต์ 15%
    ระบบการปกครอง : ระบบสังคมนิยม โดยพรรคคอมมิวนิสต์เป็นพรรคการเมืองเดียว
    ไทย เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
    ภาษา : ภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
    ประชากร : ประกอบด้วยชาวไทยเป็นส่วนใหญ่
    นับถือศาสนา : พุทธนิกายเถรวาท 95%, อิสลาม 4%
    ระบบการปกครอง : ระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข